วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนะนำคณะโบราณคดี

เกี่ยวกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ตั้งคณะโบราณคดีขึ้นเป็นคณะวิชาที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2498 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้เป็นคณะวิชาที่ผลิตครูอาจารย์และนักโบราณคดีรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในกองโบราณคดีของกรมศิลปากรหรืองานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์ โบราณวัตถุโบราณสถานของประเทศ หลักสูตรและการเรียนการสอนในคณะโบราณคดีระยะแรกสุดนั้น เป็นหลักสูตรอนุปริญญา 3 ปีที่เน้นด้านการผลิต นักวิชาการสาขาโบราณคดีเท่านั้นจึงมีการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอด

ปรัชญา
"ศึกษามนุษย์ ขุดค้นก้าวหน้า ภาษาเชี่ยวชาญ สืบสานศิลปวัฒนธรรม"

ปณิธาน
-ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีทักษะในการทำงานในสาขาวิชาที่เรียน ควบคู่กับการเป็นผู้รอบรู้ที่มีคุณธรรมซึ่งพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ตนเองเพื่อส่วนรวม
-มีระบบฐานข้อมูลขององค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งสมัยอดีตและปัจจุบัน ที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และสามารถให้บริการแก่ประชาคม ทั้งภายในและภายนอกคณะโบราณคดีได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทำให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดต่อวิชาการหลากหลายสาขาทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์
-ผลิตงานวิชาการสาขาต่างๆ ในหลายลักษณะออกเผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
-ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและให้บริการวิชาการแก่สังคม
-เผยแพร่ความรู้แก่สังคมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากประชาคมทั้งภายในและภายนอกว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ทรงคุณค่าของประเทศ และสร้างประโยชน์สูงมากให้ประเทศไทย


หลักสูตรการศึกษา

ระดับปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 หลักสูตร คือหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิ ต พ.ศ.2536ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทุกสาขาวิชาเอกของคณะโบราณคดีตามหลักสูตรนี้ ต้องสอบได้ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2546 ได้เริ่มใช้กับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546ผู้สำเร็จการศึกษาทุกสาขาวิชาเอกต้องสอบได้ไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต

การศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะโบราณคดี จำนวน 7 สาขาวิชาเอก คือ
-หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกโบราณคดี
-หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ
-หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกมานุษยวิทยา
-หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาไทย
-หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาตะวันออก
-หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ
-หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส

และ 11 สาขาวิชาโท คือ
-สาขาวิชาโบราณคดี 8. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
-สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ 9. สาขาวิชาพิพิธภัณฑสถานศึกษา
-สาขาวิชามานุษยวิทยา 10. สาขาวิชาภาษาฮินดี
-สาขาวิชาภาษาไทย 11. สาขาวิชาโทมัคคุเทศก์
-สาขาวิชาภาษาตะวันออก
-สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
-สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส


ระดับบัณฑิตศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

ระดับปริญญามหาบัณฑิต จำนวน 12 หลักสูตร คือ
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ระดับปริญญามหาบัณฑิต (โครงการพิเศษ) จำนวน 5 หลักสูตร คือ
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
-หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 4 หลักสูตร คือ
-หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
-หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเขมร
-หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
-หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น