วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ควันธูปภัยร้ายใกล้ตัว


ธูปทำมาจากขี้เลื่อย กาว น้ำมันหอมสกัดจากพืช ใบไม้ เปลือกไม้ รากไม้ เมล็ดพืช เรซิน และสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมพอกอยู่บนก้านไม้

ธูปมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่มาก ๆ สามารถเผาไหม้หมดได้ในเวลา 20 นาที ถึง 3 วัน 3 คืนก็มี คาดว่า มีคนจุดธูปทั่วโลกปีหนึ่ง ๆ เป็นหมื่น
ถึงแสนตัน

การเผาไหม้ของธูปจะปล่อยสารต่าง ๆ มากมาย มีทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ มีเทน และสารก่อ
มะเร็งหลายชนิด เช่น สาร PAH ซึ่งพบว่า มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ , สารเบนซีน สัมพันธ์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และสาร 1,3-บิวทาไดอีน
สัมพันธ์กับมะเร็งของระบบเลือด

นอกจากควันธูปเป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญในบ้าน อาคาร สถานที่ทำงาน วัด และศาลเจ้าที่มีการจุดธูปแล้ว การจุดธูปยังถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมในกิจวัตร
ประจำวันของมนุษย์ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย

การจุดธูปเป็นวัฒนธรรมที่มีรากฐานจากความเชื่อที่มีมาแต่โบราณสืบทอดต่อ ๆ กันมาว่า ทำให้สิ่งที่เราสักการะรับทราบถึงการกระทำของเรา การจุดธูปนั้นก่อให้เกิด
ความสุขทางจิตใจ แต่สิ่งที่เราคาดไม่ถึงคือ การส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง

เราควรจะปรับเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมนี้ใหม่ โดยหันมาคำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและตัวเรา ด้วยการรณรงค์ให้ทั่วโลกลดการจุดธูปโดยเริ่มจากคนไทยก่อน

ทางเลือกใหม่…ใส่ใจสุขภาพ

1.ใช้ธูปที่มีขนาดสั้นลง หรือเป็นแบบชนิดไฟฟ้า

2.หากจำเป็นต้องจุดธูป ควรตั้งกระถางธูปไว้ภายนอกอาคารที่อากาศถ่ายเทสะดวก

3.จุดธูปแล้วรีบดับ โดยจุ่มลงในน้ำหรือทราย

4.อาจสักการะได้โดยการพนมมือ หรือถือธูปไว้ แต่ไม่จุด แล้วระลึกถึงสิ่งที่เราจะสักการะ

5.การไหว้พระออนไลน์ ซึ่งเราสามารถจุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ปิดทองพระ ท่องบทสวด ภาวนาจิตผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้

หากทุกคนช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เราก็เป็นคนหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยในการลดการปลดปล่อยมลพิษ และก๊าซเรือนกระจก
ลดภาวะวิกฤติโลกร้อน และยังช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลงได้

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รู้จักและป้องกัน ทัน “อีโคไล”


มาทำความรู้จัก “อีโคไล Escherichia” แบคทีเรียร้ายที่คร่าชีวิต

แบคทีเรียชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “อีโคไล หรือ Escherichia” ซึ่งพบได้ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง เป็นต้น แบคทีเรียชนิด อีโคไลจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์

หลักจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้นำข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้ มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการ ป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้

เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร เชื่อแบคทีเรียอีโคไลจะแพร่สู่คนได้ จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้ มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ

จำนวนผู้ได้รับเชื้ออีโคไล หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 ราย

การระบาดของเชื้ออีโคไล การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลเริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ และคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540

อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วงเล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ

ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อย ยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย

ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้ จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่า คนทั่วไป

การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาอาการ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิด นี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ “ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์“

วิธีการบริโภคที่ปลอดภัย
….. ล้างผักก่อนด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ผักที่มีลักษณะเป็นกาบ เป็นหัว เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ให้ลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไป และแกะกลีบหรือใบออกจากต้น ตลอดจนคลี่ใบและถูระหว่างการล้าง เพื่อให้น้ำผ่านได้อย่างทั่วถึง ในการล้างควรล้างผักผ่านน้ำไหลนานประมาณ 2-3 นาที การล้างวิธีนี้จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคและพยาธิ รวมทั้งลดปริมาณการปนเปื้อนเคมีที่ใช้ในภาคเกษตรลงได้ค่ะ นอกจากนี้ ขอให้แยกเก็บอาหารระหว่างเนื้อสัตว์สดและผักสดไม่ให้ปะปนกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคด้วยนะคะ