สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
2.สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
1.สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
2.สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจาก
- ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น
- ภูมิอากาศในฝรั่งเศสในช่วงนั้นได้หนาวมาก จนกระทั่งชาวนาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยมาก
- พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ส่งกองกำลังทหารไปที่ทวีปอเมริกา เพื่อไปทำสงครามกับอังกฤษ เพื่อปลดปล่อยชาวอาณานิคมในสมัยนั้นให้เป็นเอกราช
- การสร้างพระราชวังแวร์ซายในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อันเนื่องมาจากความกลัวว่าประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อีก
- การทำสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศสไปทางสเปน ในปลายสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
การปฏิวัติ
Les états généraux
Les états généraux
ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย
สภา les états généraux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่าสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ
สมัชชาแห่งชาตินี้ประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les états généraux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ
เปิดฉากการปฏิวัติ
หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assemblée Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assemblée Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
การยึดคุกบาสตีย์
แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต และน้องชายของพระเจ้าหลุยส์คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซายส์ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม
หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส (l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้หนีออกนอกประเทศ ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส โดยในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอลาฟาแยตต์ ซึ่งท่านผู้นี้เคยร่วมรบในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐอเมริกามาก่อน เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น
ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก
การยุติสิทธิพิเศษต่าง ๆ
สภา Assemblée Nationale ได้ประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และล้มเลิกสิทธิการงดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการประกอบอาชีพทุกอย่างเท่าเทียมกัน ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 2332 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา
สภา Assemblée Nationale ได้ประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และล้มเลิกสิทธิการงดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการประกอบอาชีพทุกอย่างเท่าเทียมกัน ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 2332 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา
คำประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมือง
หรือ La déclaration des droits de l'homme et du citoyen
เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญารู้แจ้ง (Enlightened) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2332 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ,เสมอภาค,ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสภา Assemblée Nationale ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในขณะนั้น
การปฏิรูปครั้งใหญ่
หรือ La déclaration des droits de l'homme et du citoyen
เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญารู้แจ้ง (Enlightened) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2332 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ,เสมอภาค,ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสภา Assemblée Nationale ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในขณะนั้น
การปฏิรูปครั้งใหญ่
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2332 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
- ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
- จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบ, ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต (départements)
- ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น
- มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส
- การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ
- ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
- จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบ, ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต (départements)
- ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น
- มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส
- การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ
การปฏิรูปสถานะของพระสงฆ์
นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองของคณะสงฆ์ในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนสังฆราช (évêque) ไว้เขต (département) ละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครสังฆราช (archévêque) 1 ท่าน โดยสังฆราชและอัครสังฆราชแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นพระสงฆ์ในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย
นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองของคณะสงฆ์ในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนสังฆราช (évêque) ไว้เขต (département) ละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครสังฆราช (archévêque) 1 ท่าน โดยสังฆราชและอัครสังฆราชแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นพระสงฆ์ในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย
การจับกุม ณ วาแรน
มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อองตัวเนตนั้น ได้แอบติดต่อกับพี่ชายของพระองค์ คือจักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งออสเตรีย เพื่อที่จะให้จักรพรรดิยกทัพมาโจมตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ พระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในตอนกลางคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2334 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาแรน ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2334 ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส
มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อองตัวเนตนั้น ได้แอบติดต่อกับพี่ชายของพระองค์ คือจักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งออสเตรีย เพื่อที่จะให้จักรพรรดิยกทัพมาโจมตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ พระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในตอนกลางคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2334 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาแรน ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2334 ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส
การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบประชาธิปไตยโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพระองค์กระทำการใดๆที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือ กระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์แล้ว ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสภา Assemblée Nationale หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน
แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบประชาธิปไตยโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพระองค์กระทำการใดๆที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือ กระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์แล้ว ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสภา Assemblée Nationale หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น