วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยมีประวัติอันยาวนาน ทั้งสองได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเมื่อปีพ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้สัมพันธภาพและมิตรภาพของทั้งสองเหนียวแน่นขึ้น

ช่วงศตวรรษที่ 17 ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยามได้เริ่มความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะทูตจากประเทศไทยได้เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2227 และพ.ศ.2229 โดยได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสหลายคณะได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน คณะฯที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะได้แก่คณะของเชอร์วัลลิเยร์ เดอ โชมงต์ ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตของทั้งสองประเทศเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2399 และได้มีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้านการทูตระหว่างสองประเทศครบ 150 ปีเมื่อปีพ.ศ.2549

ในส่วนของการล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อปีพ.ศ.2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (กรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส) ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปีพ.ศ.2440 และพ.ศ.2450 สัมพันธภาพดังกล่าวดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยร่วมมือทางการทหารกับฝรั่งเศส หลังสงครามสิ้นสุด ในปีพ.ศ.2461 ประเทศสยามได้ส่งทหารเข้าร่วมสวนสนามที่ถนนชองส์ เอลิเซส์ ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย

ในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้กระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านการทูตและการเมือง รวมถึงด้านการทหาร (รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระสหายร่วมชั้นกับนายพลเดอ โกลล์ของฝรั่งเศส) และด้านวัฒนธรรม นักศึกษาจากประเทศสยามเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสเป็นจำนวนหลายคน รวมถึงท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกันยายนพ.ศ.2483 และพฤษภาคมพ.ศ.2484 กองทหารของประเทศทั้งสองได้เผชิญหน้ากันทั้งในดินแดนอินโดจีน อาณานิคมของฝรั่งเศส และในประเทศไทย ฝ่ายไทยได้ยึดเสียมเรียบและพระตระบอง ประเทศฝรั่งเศสแสดงความไม่พอใจ และปะทะกับกองทัพไทย อันเป็นเหตุให้เรือรบไทยจมลงที่เกาะช้าง สุดท้าย มีการลงนามสงบศึกที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมพ.ศ.2484 อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังไม่แน่นแฟ้นเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2503 แล้วก็ตาม

ช่วงต้นปีพ.ศ. 2543 ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและไทยกลับกระชับเหนียวแน่นอีกครั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2546 ประเทศทั้งสองพร้อมใจที่จะเปิดศักราชใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรถือว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของประเทศไทยในยุโรป เช่นเดียวกับประธานาธิบดี ฌากส์ ชิรัค ที่เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเอเชียที่สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2547 โดยนายมิเชล บาร์นิเยร์และดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสอง

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายฌากส์ ชิรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะสมานความสัมพันธ์ฝรั่งเศสไทยให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกครั้ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเสนอให้มีการรับร่างสนธิสัญญาสมานฉันท์และความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หรือ TAC) เพื่อกระตุ้นให้มีการหารือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศทั้งสองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ การช่วยเหลือประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศลาวและกัมพูชา ร่วมกัน ทั้งนี้ รวมถึงความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษาระดับสูงและการวิจัย และการกระตุ้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ณ กรุงปารีส

ในปีพ.ศ. 2548 การแลกเปลี่ยนทางด้านการค้าระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสมีจำนวนถึง 3,100 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38 ภายในปีเดียว) ประเทศฝรั่งเศสส่งสินค้าออกมายังประเทศไทยเป็นอันดับที่ 15 ของจำนวนประเทศที่ฝรั่งเศสส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,600 ล้านยูโร) ในขณะที่ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศฝรั่งเศสมากเป็นอันดับที่ 17 ของจำนวนประเทศที่ไทยส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,514 ยูโร) ปัจจุบัน บริษัทฝรั่งเศสในประเทศไทยมีจำนวนมากถึง 300 บริษัท

นอกจากนี้ ประเทศทั้งสองยังกระชับความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และวิชาการอีกด้วย ในส่วนของวัฒนธรรม ได้มีการจัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสหรือลา แฟ็ต ณ กรุงเทพฯ ในขณะที่ฝ่ายไทยจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยซึ่งมีชื่อว่า Tout à fait Thaï ณ ประเทศฝรั่งเศส ในส่วนของวิชาการ ฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสยังมีโครงการร่วมด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย การแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานการศึกษา ฯลฯ อีกด้วย

หลังจากเกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในประเทศไทย ประเทศฝรั่งเศสและสมาชิกสหภาพยุโรปมีความคิดเห็นว่าการนำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการยึดหลักรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ นอกจากนั้น ยังประสงค์ให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก การเคารพในสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชน และส่งเสริมให้มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีอันถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด ประเทศฝรั่งเศสยังประสงค์ที่จะกระชับสัมพันธภาพกับประเทศไทย โดยยึดมั่นในสันติภาพ เสรีภาพ และหลักประชาธิปไตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น