วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Bière





La bière est une boisson alcoolisée obtenue par fermentation, fabriquée à partir d’eau, de malt (céréale germée, très généralement de l'orge, parfois du froment ou du seigle) et de houblon.
Remontant à l’Antiquité (la fabrication de bière est attestée à Sumer au IVe millénaire av. J.-C.), elle est l'une des boissons les plus populaires à travers le monde.
Des versions faiblement alcoolisées (variant de 2° à 0°) sont présentes sur le marché. Contrairement aux autres boissons « sans alcool », elles sont fabriquées par les mêmes procédés que la bière classique. La fabrication de la bière est réalisée industriellement ou artisanalement dans une brasserie mais est réalisable par le particulier.


Histoire


L'histoire de la bière est intimement liée à celle de ses ingrédients, ainsi qu'aux avancées technologiques qui firent de cette boisson le breuvage que l'on connaît aujourd'hui. Les premières cultures de céréales, notamment de l'orge et de l'épeautre (une variété de blé), ont été attestées en 8000 avant J.-C. en Mésopotamie. Tous les ingrédients étant disponibles à partir de cette époque là, la bière pouvait donc exister et l'on estime son invention/découverte à 6000 avant J.-C.. Cependant, les preuves formelles de son existence, découvertes dans la province de Sumer, remontent au IVe millénaire av. J.-C. À cette époque, la bière, alors appelée « sikaru[1]» (dont la traduction littérale est pain liquide) était à la base de l'alimentation quotidienne. On la fabriquait par cuisson de galettes à base d'épeautre et d'orge que l'on mettait à tremper dans de l'eau, afin de déclencher la fermentation nécessaire à la production d'alcool, et que l'on assaisonnait avec de la cannelle, du miel ou toutes autres épices en fonction des préférences des clients. La bière, connue des peuples de Chaldée (maintenant Irak, Koweït) et d'Assyrie (Syrie,Liban,Israël), devenue monnaie d'échange, commença sa dissémination.

Consommée en famille et utilisée comme moyen de paiement à Babylone, puis boisson des dieux en Égypte, la bière devint dans la Grèce antique et dans l’Empire romain celle du pauvre, et le vin celle des dieux. Elle resta cependant la boisson de choix des peuples du nord, celtes et germains. La préférence pour le vin se confirma dans l’Europe chrétienne au début du Moyen Âge, notamment grâce au concile d’Aix-la-Chapelle de 816 qui encouragea les viticultures épiscopales et monastiques dans le but de célébrer l’eucharistie. Il fallut attendre le VIIIe siècle pour voir le brassage de la bière y reprendre de l’importance, en particulier en Bavière. Par la suite, aux environs du XIIe siècle, certains monastères (par exemple en Belgique et en Bavière) se spécialisèrent dans le brassage de la bière, bue par la population à la place d’une eau souvent non potable.

Aujourd’hui, la bière jouit d’un succès mondial en tant que boisson désaltérante et de dégustation. Ce succès remonte au XIXe siècle où la maîtrise de la fermentation basse grâce à la réfrigération et la pasteurisation permirent la production de nouvelles variétés de bière ainsi que leur exportation. Par exemple la pils, bière lager née à Plzeň en Bohême (République tchèque) en 1842, a très rapidement connu un succès international.

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิวัติฝรั่งเศส



สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
2.สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว

สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจาก

- ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น

- ภูมิอากาศในฝรั่งเศสในช่วงนั้นได้หนาวมาก จนกระทั่งชาวนาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยมาก

- พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ส่งกองกำลังทหารไปที่ทวีปอเมริกา เพื่อไปทำสงครามกับอังกฤษ เพื่อปลดปล่อยชาวอาณานิคมในสมัยนั้นให้เป็นเอกราช

- การสร้างพระราชวังแวร์ซายในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อันเนื่องมาจากความกลัวว่าประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อีก

- การทำสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศสไปทางสเปน ในปลายสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14


การปฏิวัติ
Les états généraux

ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย

สภา les états généraux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่าสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ

สมัชชาแห่งชาตินี้ประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les états généraux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ

เปิดฉากการปฏิวัติ
หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assemblée Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ

การยึดคุกบาสตีย์

แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต และน้องชายของพระเจ้าหลุยส์คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซายส์ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม

หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส (l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้หนีออกนอกประเทศ ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส

หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส โดยในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอลาฟาแยตต์ ซึ่งท่านผู้นี้เคยร่วมรบในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐอเมริกามาก่อน เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น

ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก

การยุติสิทธิพิเศษต่าง ๆ
สภา Assemblée Nationale ได้ประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และล้มเลิกสิทธิการงดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการประกอบอาชีพทุกอย่างเท่าเทียมกัน ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 2332 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา

คำประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมือง
หรือ La déclaration des droits de l'homme et du citoyen
เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญารู้แจ้ง (Enlightened) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2332 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ,เสมอภาค,ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสภา Assemblée Nationale ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในขณะนั้น
การปฏิรูปครั้งใหญ่

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2332 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
- ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
- จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบ, ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต (départements)
- ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น
- มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส
- การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ

การปฏิรูปสถานะของพระสงฆ์
นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองของคณะสงฆ์ในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2333 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนสังฆราช (évêque) ไว้เขต (département) ละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครสังฆราช (archévêque) 1 ท่าน โดยสังฆราชและอัครสังฆราชแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นพระสงฆ์ในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย

การจับกุม ณ วาแรน
มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อองตัวเนตนั้น ได้แอบติดต่อกับพี่ชายของพระองค์ คือจักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งออสเตรีย เพื่อที่จะให้จักรพรรดิยกทัพมาโจมตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ พระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในตอนกลางคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2334 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาแรน ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2334 ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส

การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบประชาธิปไตยโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพระองค์กระทำการใดๆที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือ กระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์แล้ว ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสภา Assemblée Nationale หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน



ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยมีประวัติอันยาวนาน ทั้งสองได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเมื่อปีพ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้สัมพันธภาพและมิตรภาพของทั้งสองเหนียวแน่นขึ้น

ช่วงศตวรรษที่ 17 ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยามได้เริ่มความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะทูตจากประเทศไทยได้เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2227 และพ.ศ.2229 โดยได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสหลายคณะได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน คณะฯที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะได้แก่คณะของเชอร์วัลลิเยร์ เดอ โชมงต์ ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตของทั้งสองประเทศเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2399 และได้มีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้านการทูตระหว่างสองประเทศครบ 150 ปีเมื่อปีพ.ศ.2549

ในส่วนของการล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อปีพ.ศ.2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (กรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส) ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปีพ.ศ.2440 และพ.ศ.2450 สัมพันธภาพดังกล่าวดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยร่วมมือทางการทหารกับฝรั่งเศส หลังสงครามสิ้นสุด ในปีพ.ศ.2461 ประเทศสยามได้ส่งทหารเข้าร่วมสวนสนามที่ถนนชองส์ เอลิเซส์ ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย

ในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้กระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านการทูตและการเมือง รวมถึงด้านการทหาร (รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระสหายร่วมชั้นกับนายพลเดอ โกลล์ของฝรั่งเศส) และด้านวัฒนธรรม นักศึกษาจากประเทศสยามเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสเป็นจำนวนหลายคน รวมถึงท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกันยายนพ.ศ.2483 และพฤษภาคมพ.ศ.2484 กองทหารของประเทศทั้งสองได้เผชิญหน้ากันทั้งในดินแดนอินโดจีน อาณานิคมของฝรั่งเศส และในประเทศไทย ฝ่ายไทยได้ยึดเสียมเรียบและพระตระบอง ประเทศฝรั่งเศสแสดงความไม่พอใจ และปะทะกับกองทัพไทย อันเป็นเหตุให้เรือรบไทยจมลงที่เกาะช้าง สุดท้าย มีการลงนามสงบศึกที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมพ.ศ.2484 อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังไม่แน่นแฟ้นเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2503 แล้วก็ตาม

ช่วงต้นปีพ.ศ. 2543 ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและไทยกลับกระชับเหนียวแน่นอีกครั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2546 ประเทศทั้งสองพร้อมใจที่จะเปิดศักราชใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรถือว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของประเทศไทยในยุโรป เช่นเดียวกับประธานาธิบดี ฌากส์ ชิรัค ที่เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเอเชียที่สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2547 โดยนายมิเชล บาร์นิเยร์และดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสอง

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายฌากส์ ชิรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะสมานความสัมพันธ์ฝรั่งเศสไทยให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกครั้ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเสนอให้มีการรับร่างสนธิสัญญาสมานฉันท์และความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หรือ TAC) เพื่อกระตุ้นให้มีการหารือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศทั้งสองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ การช่วยเหลือประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศลาวและกัมพูชา ร่วมกัน ทั้งนี้ รวมถึงความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษาระดับสูงและการวิจัย และการกระตุ้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ณ กรุงปารีส

ในปีพ.ศ. 2548 การแลกเปลี่ยนทางด้านการค้าระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสมีจำนวนถึง 3,100 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38 ภายในปีเดียว) ประเทศฝรั่งเศสส่งสินค้าออกมายังประเทศไทยเป็นอันดับที่ 15 ของจำนวนประเทศที่ฝรั่งเศสส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,600 ล้านยูโร) ในขณะที่ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศฝรั่งเศสมากเป็นอันดับที่ 17 ของจำนวนประเทศที่ไทยส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,514 ยูโร) ปัจจุบัน บริษัทฝรั่งเศสในประเทศไทยมีจำนวนมากถึง 300 บริษัท

นอกจากนี้ ประเทศทั้งสองยังกระชับความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และวิชาการอีกด้วย ในส่วนของวัฒนธรรม ได้มีการจัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสหรือลา แฟ็ต ณ กรุงเทพฯ ในขณะที่ฝ่ายไทยจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยซึ่งมีชื่อว่า Tout à fait Thaï ณ ประเทศฝรั่งเศส ในส่วนของวิชาการ ฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสยังมีโครงการร่วมด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย การแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานการศึกษา ฯลฯ อีกด้วย

หลังจากเกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในประเทศไทย ประเทศฝรั่งเศสและสมาชิกสหภาพยุโรปมีความคิดเห็นว่าการนำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการยึดหลักรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ นอกจากนั้น ยังประสงค์ให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก การเคารพในสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชน และส่งเสริมให้มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีอันถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด ประเทศฝรั่งเศสยังประสงค์ที่จะกระชับสัมพันธภาพกับประเทศไทย โดยยึดมั่นในสันติภาพ เสรีภาพ และหลักประชาธิปไตย