ความเป็นไทยที่ควรจะสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ชั่วลูกชั่วหลาน...
ศิลปหัตถกรรมไทยของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต ถือเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตในสังคมระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศชาติ แสดงถึงเอกลักษณ์ บ่งชี้ถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์ไว้เป็นมรดกของลูกหลานรุ่นต่อไป
มารยาทไทยคนไทยได้รับการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ สืบทอดต่อกันมาในเรื่องธรรมเนียมประเพณี ที่เกี่ยวกับการปฎิบัติระหว่างบุคคล ต่อบุคคลที่สังคมยอมรับ เช่น การทักทายด้วยการกราบไหว้ กริยามารยาทที่เรียบร้อยอ่อนน้อมแบบไทย
วรรณกรรมไทยชาวไทยมีสุนทรียะอยู่ในความคิด มีความสร้างสรรค์อยู่ในสายเลือด เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน วรรณกรรมไทยโบราณ จึงเป็นงานประเภทร้อยกรอง ที่แปรออกเป็นฉันทลักษณ์หลายหลากรูปแบบ ในสมัยอยุธยาวรรณกรรมไทยเจริญสูงสุด สมัยพระนารายณ์มหาราช ถือเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี
ประเพณีไทยกิจกรรมที่คนไทยถือปฎิบัติตามความเชื่อ ถือศรัทธาในศาสนา กฎ ระเบียบ จารีตประเพณีที่ปฎิบัติสืบทอดกันมา หลายชั่วอายุคน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง พิธีมงคลสมรส เป็นต้น
ปฎิมากรรมไทยส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นด้วยความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูปปางต่างๆ หรือตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ของโบสถ์วิหาร
ภาษาไทยภาษาเป็นสิ่งแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของคนในชาติ ชาติไทยเรามีภาษาเป็นของตนเองทั้ง ภาษาพูด และภาษาเขียน พ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษร และตัวเลขไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1826 ทำให้คนไทยมีภาษาเขียน เป็นภาษาประจำชาติ
ผ้าไทยบรรพบุรุษของไทยในอดีต มีความชำนาญในการทอผ้า และสร้างลวดลายบนผืนผ้า ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของชาติขึ้น ลักษณ์ของผ้าไทยจัดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด เนื่องจากลวดลายและเอกลักษณ์ จะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
งานประดิษฐ์ดอกไม้สดบรรพบุรุษไทยได้คิดนำกลีบดอกไม้ ใบไม้ ประเภทต่างๆ มาจับ พับ เย็บ ร้อย หรือกรองประดิษฐ์เป็นลักษณะต่างๆ ให้ได้รูปแบบใหม่ที่แปลกไปจากเดิม และงดงามมาก งานประดิษฐ์ดอกไม้ถือเป็นการฝึกสมาธิ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เห็นจิตใจที่งดงาม และละเอียดอ่อนของคนไทย
จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะภาพ 2 มิติ คือ จัดภาพที่อยู่ใกล้ไว้ตอนล่าง สิ่งที่อยู่ไกลไว้ตอนบน เห็นได้จาก ฝาฝนังตามวัดต่างๆ ภาพเขียน สมุดข่อย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น