ประวัติคณะ
การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ .2475 ส่งผลให้มีการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นในปี พ . ศ . 2477 นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม ของการจัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทยกล่าวคือในสมัยแรกเริ่มนั้นการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ได้แทรกปะปนอยู่กับเนื้อหาของหลักสูตรวิชา “ ธรรมศาสตร์ บัณฑิต ” ( ธ . บ .) ในระดับชั้นปริญญาตรีในขณะที่ในระดับชั้นปริญญาโทและระดับชั้นปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรม ศาสตร์ และการเมืองได้แยกหลักสูตรออกเป็น 3 ทางอย่างชัดเจน ได้แก่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2491-2492 ภายหลังจากเกิดความผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรงภายหลัง รวมทั้งการที่สภาพแวดล้อมทาง การเมืองระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวได้ว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีความเห็นใน แนวทางเดียวกันว่าการเรียนการสอนในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตนั้นมีความ “ ไม่เพียงพอ ” ที่จะผลิตบัณฑิตได้ตรงกับหน้าที่การงาน อีกทั้งธรรมศาสตร์บัณฑิต จัดการเรียนการสอนในแบบตลาดวิชา จาก แนวความคิดดังกล่าวข้างต้นประกอบกับการที่มีสภาวะแวดล้อมทางการเมืองทั้งภายในและ ภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ผลักดันให้มีการ ลงมติให้ตรา “ ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492” ขึ้น ข้อบังคับดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อ ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กล่าวคือ ได้มีการจัดตั้ง คณะรัฐศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ . ศ . 2492 ในสมัยแรกเริ่มของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้น คณบดีและคณะ กรรมการร่าง หลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็น จำนวน หลายประเทศ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือในทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิ Fulbright ซึ่ง เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงสมัยนั้นด้วย
นับจากวันนั้นตราบจนถึงปัจจุบัน คณะรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคณบดีต่อ เนื่องกันรวม 18 คน ต่อมาในปี พ . ศ .2498 เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับความช่วยเหลือในทางวิชาการ โดยตรงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีการเปิดแผนกวิชา รัฐประศาสน ศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาโท โดยทำการเรียนการสอนทั้งในระบบภาษาอังกฤษและภาษาไทย เป็นต้น ในปี พ . ศ . 2502 คณะรัฐศาสตร์ ได้มีมติให้จัดตั้งแผนกการทูตในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรก ( หลังจากที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาโทมาเป็นเวลาช้านาน ) รวมทั้งได้มีการจัดตั้ง แผนกบริหารรัฐ กิจ และแผนกรัฐศาสตร์ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีเพิ่มเติมขั้นอีกสองแผนก ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2510 เมื่อถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทขึ้นรวม 4 แผนก ได้แก่ การปกครอง บริหารรัฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ( หรือแผนกการทูตเดิม ) และปรัชญาการเมืองก่อนที่จะยุบรวมลงเหลือ เพียง 3 แผนก ได้แก่ การเมืองการปกครอง บริหารรัฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใน สมัยปัจจุบัน นอกจากนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และระบบการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศว่าได้ มีการเปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐศาสตร์จึงได้มีการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษในระดับชั้นปริญญาโทขึ้นรวม 3 แผนก ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้บริหาร สาขาบริหารรัฐกิจ (EPA) หลักสูตรปริญญาโท สาขาการปกครอง สำหรับผู้บริหาร (MPE) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MIR) ซึ่งจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งหลักสูตร
จากพัฒนาการของคณะรัฐศาสตร์ดังกล่าวแล้วข้างต้น ทำให้คณะฯ ได้ผลิตบัณฑิตสาขาต่าง ๆ ออกไปมากมาย เพื่อรับใช้ประเทศชาติ
ปรัชญา
คณะรัฐศาสตร์มีปรัชญาในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางรัฐศาสตร์ ทั้งทางด้านทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจ และการระหว่างประเทศ ที่เป็นการศึกษาในเชิงสหวิชา และสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยและทดลองปฏิบัติงานในสายวิชาชีพที่เลือกในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆได้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมโดยส่วนรวม รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
วิสัยทัศน์
“เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำทางด้านรัฐศาสตร์ในสาขาการเมืองการปกครอง การบริหารรัฐกิจ และการระหว่างประเทศ โดยการผลิตบัณฑิตและองค์ความรู้ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ”
พันธกิจ
1.จัดการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์ ในสาขาการเมืองการปกครอง การบริหารจัดการงานภาครัฐ และการระหว่างประเทศ ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
2.ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวิชาการเพื่อประโยชน์ในการจัด การเรียนการสอน และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสังคม
3.ให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อถ่ายทอดความรู้ในหลักวิชาการ โดยสอดแทรกคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามให้เกิดขึ้นในสังคม
4.ส่งเสริมและสนับสนุนแนวคิด และกิจกรรมเพื่อร่วมทำนุบำรุงสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ประเพณีไทยที่ควรอนุรักษ์ รวมถึงการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองไทย โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตยึดมั่นความเป็นธรรม ในสังคม รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีในระบอบประชาธิปไตย
2.ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวิชาการเพื่อประโยชน์ในการจัด การเรียนการสอน และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสังคม
3.ให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อถ่ายทอดความรู้ในหลักวิชาการ โดยสอดแทรกคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามให้เกิดขึ้นในสังคม
4.ส่งเสริมและสนับสนุนแนวคิด และกิจกรรมเพื่อร่วมทำนุบำรุงสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ประเพณีไทยที่ควรอนุรักษ์ รวมถึงการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองไทย โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตยึดมั่นความเป็นธรรม ในสังคม รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีในระบอบประชาธิปไตย
สัญลักษณ์ประจำคณะ
-สัญลักษณ์ คือ สิงห์แดง
-สีประจำคณะ คือ สีดำ
-ต้นไม้ประจำคณะ คือ ต้นจำปี
-คำขวัญ คือ สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง
-สัญลักษณ์ คือ สิงห์แดง
-สีประจำคณะ คือ สีดำ
-ต้นไม้ประจำคณะ คือ ต้นจำปี
-คำขวัญ คือ สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น