วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554
Mère Teresa
Mère Teresa, de son nom patronymique Anjezë Gonxhe Bojaxhiu ([aɲɛzə gonˈʤe bɔˈjaʤi:u]), née en 1910 à Uskub, Empire ottoman (actuellement Skopje, Macédoine), et morte le 5 septembre 1997 à Calcutta, Inde, est une religieuse catholique albanaise, de nationalité indienne, surtout connue pour son action personnelle caritative et la fondation d'une congrégation de religieuses, les Missionnaires de la Charité qui l'accompagnent et suivent son exemple.
En 1949 elle s'engage auprès des plus pauvres, et fonde sa congrégation en 1950 ; son œuvre auprès des plus démunis commence par l'éducation des enfants des rues et l'ouverture du mouroir de Kalighat (Nirmal Hriday) à Calcutta. Pendant plus de 40 ans, elle consacre sa vie aux pauvres, aux malades, aux laissés pour compte et aux mourants, d'abord en Inde puis dans d'autres pays, et elle guide le développement des Missionnaires de la Charité. Au moment de sa mort, ceux-ci s'occupent de 610 missions, dans 123 pays, incluant des soupes populaires, des centres d'aide familiale, des orphelinats, des écoles, des hospices et des maisons d'accueil pour les personnes atteintes de maladies comme la lèpre, le sida ou la tuberculose.
Perçue comme un modèle de bonté et d'altruisme, elle est régulièrement évoquée dans la presse indienne et occidentale pendant la deuxième moitié du XXe siècle.
Mère Teresa est béatifiée le 19 octobre 2003, à Rome par le pape Jean-Paul II.
ใช้คอมฯ นานเสี่ยง โรคซีวีเอส
ปัจจุบันไม่ว่าจะทำงานอะไร อาชีพอะไร ส่วนใหญ่ล้วนแต่ต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์แทบทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป้นเครื่องมือที่เอื้ออำนวยความสะดวกได้หลากหลาย จนบางคนแทบจะขาดไม่ได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า!! บนความสะดวกสบายนี้สามารถ “ทำลาย” สุขภาพคุณโดยไม่รู้ตัว หากใช้มันอย่างผิดวิธีหรือใช้นานจนเกินไป...
ไม่ต้องสงสัย?? ...เพราะหลายคนอาจกำลังมีอาการ ปวดที่กระดูกข้อมือ กล้ามเนื้อ ตามต้นคอ หัวไหล่ สะบักรวมถึงหลัง หรือมักมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว หากใช้สายตาจ้องหน้าจอนาน ๆ และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัว ซึ่งนั่นแสดงว่าคุณกำลังเป็น “โรคซีวีเอส” หรือ “คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” โดยบริเวณที่เกิดอาการอาจคลำพบกล้ามเนื้อแข็งตึงและอาจมีจุดกดเจ็บ ทำให้เมื่อเคลื่อนไหวแล้วอาจพบอาการเจ็บปวดมากขึ้น แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนด้วย
ซึ่งสาเหตุของโรคนี้มาจาก การติดตั้ง จัดวาง คีย์บอร์ด จอมอนิเตอร์ เม้าส์ และเก้าอี้ ตลอดจนการปรับระดับแสงที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เราเกิดอาการอย่างที่กล่าวมานี้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมในโต๊ะทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานลงได้ สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจาก...
คีย์บอร์ด หลายคนคงไม่คิดว่า แค่คีย์บอร์ดจะทำให้เจ็บป่วยอะไรได้มากมาย แต่หากคุณใช้ไม่ถูกวิธีล่ะก็...จะส่งผลให้คุณมีอาการปวดไหล่ และที่ร้ายแรงไปกว่านั้นก็คือ ระยะยาว อาจจะทำให้คุณเกิดปัญหาปวดข้อมือเรื้อรังได้ บางคนอาจเป็นถึงขั้นนิ้วล๊อก ต้องทำการผ่าตัดกันเลยทีเดียว บางคนอาจจะเห็นว่ามันจะไม่สำคัญ หรืออาจจะไม่รู้สึกเจ็บป่วย แต่ก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีการป้องกันเอาไว้ล่วงหน้า
การวางคีย์บอร์ดที่ถูกต้องนั้น แขนต้องอยู่ในมุมตั้งฉาก ไม่สูงเกินไป หรือไม่ต่ำจนเกินไป ไหล่ไม่ห่อ ถ้าคุณเป็นคนไหล่กว้างขอแนะนำให้คุณใช้คีย์บอร์ดแบบแยก เพราะมันจะให้คุณทำงานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ปล่อยให้ข้อมืออยู่เป็นธรรมชาติอย่างอขึ้นหรืองอลง ส่วนลำตัวให้อยู่บริเวณส่วนกลางของคีย์บอร์ดอย่าเอียงไปทางซ้ายหรือขวามากเกินไป..
จอคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันอาจทำให้คุณปวดข้อ ปวดไหล่ หรือเกิดอาการแสบตาได้ ซึ่งการวางจอในลักษณะที่ถูกต้องนั้นควรเริ่มจากตั้งจอให้อยู่ตรงกลาง ด้านบนของจอมอนิเตอร์อยู่ในระดับสายตาของคุณ ปรับหน้าจอให้แหงนขึ้นเล็กน้อย เพราะจะทำให้คุณไม่เมื่อยคอในการเอียงคอดูจอ อย่าให้มีแสงสะท้อนบนหน้าจอ พยายามนั่งห่างจากจอประมาณ 1 ช่วงแขน หากคุณมีจอใหญ่กว่า 20 นิ้ว ก็ควรถอยห่างออกไปอีก ก็จะเป็นการดีและเป็นการถนอมสายตาด้วย และที่สำคัญควรพักเบรกสายตาเป็นพักๆ หากต้องอยู่กับคอมนานๆ
เม้าส์ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณมีอาการเจ็บป่วย เพราะการทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการเกร็งอวัยวะใดซ้ำๆ กัน ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่โพรงกระดูกข้อมือได้ ขณะที่เคลื่อนไหวข้อมือ ขนาดของโพรงกระดูกข้อมือก็มีการเปลี่ยนแปลง สร้างความกดดันให้กับเส้นประสาทตรงกลาง ถ้าคุณทำงานตลอดวัน โดยที่ข้อมืองอและกดทับบนโต๊ะ ก็สามารถทำให้เส้นเอ็น หรือเส้นประสาทที่ข้อมือเกิดอาการปวดได้ ในระยะยาวอาจทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การปวด ชา และปวดรุนแรงที่นิ้วมือได้ ซึ่งวิธีที่จะทำให้ลดอัตราการเกิดอาการเหล่านั้นได้ ไม่ต่างจากคีย์บอร์ดมากนัก ที่สำคัญควรหาวัสดุนิ่มๆ มารองเพื่อลดแรงเสียดสีและกดทับเส้นประสาท
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้!!! ยังมี เก้าอี้ ที่คุณใช้นั่งทำงานเป็นกันวันๆ อีก ที่มีส่วนในการทำลายสุขภาพของคุณ ซึ่งเก้าอี้ที่ดีนั้นเวลาคุณนั่งจะรู้สึกสบาย พนักพิงควรราบไปกับหลัง ปรับระดับความสูงได้ ควรนั่งพิงพนักให้เต็ม และเก้าอี้ควรมีขนาดพอดีตัวไม่เล็กเกินไป เบาะก็ควรจะขนานกับพื้น นั่งให้เป็นมุม 90 องศา หัวเข่าตั้งฉากกับพื้น ฝ่าเท้าแนบขนานกับพื้น นั่งให้ตัวตรง และที่สำคัญควรเดินไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการเมื่อยล้า
เห็นแล้วใช่มั้ยว่า...โรคภัย...มีอยู่รอบตัวเรา เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว!! คุณคงจะไม่รีรอที่จะจัดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบนโต๊ะทำงานของคุณเสียใหม่โดยเร็ว เพื่อจะได้ห่างไกลบ่อนทำลายสุขภาพ...
ไม่ต้องสงสัย?? ...เพราะหลายคนอาจกำลังมีอาการ ปวดที่กระดูกข้อมือ กล้ามเนื้อ ตามต้นคอ หัวไหล่ สะบักรวมถึงหลัง หรือมักมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว หากใช้สายตาจ้องหน้าจอนาน ๆ และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัว ซึ่งนั่นแสดงว่าคุณกำลังเป็น “โรคซีวีเอส” หรือ “คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” โดยบริเวณที่เกิดอาการอาจคลำพบกล้ามเนื้อแข็งตึงและอาจมีจุดกดเจ็บ ทำให้เมื่อเคลื่อนไหวแล้วอาจพบอาการเจ็บปวดมากขึ้น แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนด้วย
ซึ่งสาเหตุของโรคนี้มาจาก การติดตั้ง จัดวาง คีย์บอร์ด จอมอนิเตอร์ เม้าส์ และเก้าอี้ ตลอดจนการปรับระดับแสงที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เราเกิดอาการอย่างที่กล่าวมานี้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมในโต๊ะทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานลงได้ สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจาก...
คีย์บอร์ด หลายคนคงไม่คิดว่า แค่คีย์บอร์ดจะทำให้เจ็บป่วยอะไรได้มากมาย แต่หากคุณใช้ไม่ถูกวิธีล่ะก็...จะส่งผลให้คุณมีอาการปวดไหล่ และที่ร้ายแรงไปกว่านั้นก็คือ ระยะยาว อาจจะทำให้คุณเกิดปัญหาปวดข้อมือเรื้อรังได้ บางคนอาจเป็นถึงขั้นนิ้วล๊อก ต้องทำการผ่าตัดกันเลยทีเดียว บางคนอาจจะเห็นว่ามันจะไม่สำคัญ หรืออาจจะไม่รู้สึกเจ็บป่วย แต่ก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีการป้องกันเอาไว้ล่วงหน้า
การวางคีย์บอร์ดที่ถูกต้องนั้น แขนต้องอยู่ในมุมตั้งฉาก ไม่สูงเกินไป หรือไม่ต่ำจนเกินไป ไหล่ไม่ห่อ ถ้าคุณเป็นคนไหล่กว้างขอแนะนำให้คุณใช้คีย์บอร์ดแบบแยก เพราะมันจะให้คุณทำงานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ปล่อยให้ข้อมืออยู่เป็นธรรมชาติอย่างอขึ้นหรืองอลง ส่วนลำตัวให้อยู่บริเวณส่วนกลางของคีย์บอร์ดอย่าเอียงไปทางซ้ายหรือขวามากเกินไป..
จอคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันอาจทำให้คุณปวดข้อ ปวดไหล่ หรือเกิดอาการแสบตาได้ ซึ่งการวางจอในลักษณะที่ถูกต้องนั้นควรเริ่มจากตั้งจอให้อยู่ตรงกลาง ด้านบนของจอมอนิเตอร์อยู่ในระดับสายตาของคุณ ปรับหน้าจอให้แหงนขึ้นเล็กน้อย เพราะจะทำให้คุณไม่เมื่อยคอในการเอียงคอดูจอ อย่าให้มีแสงสะท้อนบนหน้าจอ พยายามนั่งห่างจากจอประมาณ 1 ช่วงแขน หากคุณมีจอใหญ่กว่า 20 นิ้ว ก็ควรถอยห่างออกไปอีก ก็จะเป็นการดีและเป็นการถนอมสายตาด้วย และที่สำคัญควรพักเบรกสายตาเป็นพักๆ หากต้องอยู่กับคอมนานๆ
เม้าส์ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณมีอาการเจ็บป่วย เพราะการทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการเกร็งอวัยวะใดซ้ำๆ กัน ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่โพรงกระดูกข้อมือได้ ขณะที่เคลื่อนไหวข้อมือ ขนาดของโพรงกระดูกข้อมือก็มีการเปลี่ยนแปลง สร้างความกดดันให้กับเส้นประสาทตรงกลาง ถ้าคุณทำงานตลอดวัน โดยที่ข้อมืองอและกดทับบนโต๊ะ ก็สามารถทำให้เส้นเอ็น หรือเส้นประสาทที่ข้อมือเกิดอาการปวดได้ ในระยะยาวอาจทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การปวด ชา และปวดรุนแรงที่นิ้วมือได้ ซึ่งวิธีที่จะทำให้ลดอัตราการเกิดอาการเหล่านั้นได้ ไม่ต่างจากคีย์บอร์ดมากนัก ที่สำคัญควรหาวัสดุนิ่มๆ มารองเพื่อลดแรงเสียดสีและกดทับเส้นประสาท
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้!!! ยังมี เก้าอี้ ที่คุณใช้นั่งทำงานเป็นกันวันๆ อีก ที่มีส่วนในการทำลายสุขภาพของคุณ ซึ่งเก้าอี้ที่ดีนั้นเวลาคุณนั่งจะรู้สึกสบาย พนักพิงควรราบไปกับหลัง ปรับระดับความสูงได้ ควรนั่งพิงพนักให้เต็ม และเก้าอี้ควรมีขนาดพอดีตัวไม่เล็กเกินไป เบาะก็ควรจะขนานกับพื้น นั่งให้เป็นมุม 90 องศา หัวเข่าตั้งฉากกับพื้น ฝ่าเท้าแนบขนานกับพื้น นั่งให้ตัวตรง และที่สำคัญควรเดินไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการเมื่อยล้า
เห็นแล้วใช่มั้ยว่า...โรคภัย...มีอยู่รอบตัวเรา เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว!! คุณคงจะไม่รีรอที่จะจัดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบนโต๊ะทำงานของคุณเสียใหม่โดยเร็ว เพื่อจะได้ห่างไกลบ่อนทำลายสุขภาพ...
แค่ อ่าน ก็สร้างชาติได้
หนังสือช่วยความคิด-จิตใจ ส่งผลระดับความรู้พลเมืองสูงขึ้น ประเทศก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
การอ่านหนังสือทำให้คนหลายๆคนเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในด้านความคิดและพฤติกรรม... “หนังสือ” จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญในการสร้างพัฒนาการที่ดีที่สุด ที่ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในทางด้านสติปัญญา แต่ยังรวมไปถึงการช่วยพัฒนาความคิด และยกระดับจิตใจได้อีกด้วย
แต่ในปัจจุบันกลับพบว่า คนไทยอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อคนต่อปีเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามนำโด่งไปที่ 60 เล่มต่อคนต่อปี...ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วคนไทยรักการอ่านหนังสือไม่แพ้ชาติใดในโลก...นายจรัญ มาลัยกุล หัวหน้าโครงการอ่านสร้างชาติ ได้ออกมาบอกว่า จากข้อมูลที่ระบุว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยนั้น...ความจริงแล้วคนไทยไม่ใช่ไม่อยากอ่านหนังสือ แต่ไม่มีหนังสือให้อ่าน เพราะหนังสือมีราคาแพง และสถานที่จำหน่ายก็มีเฉพาะในเขตเมือง ทำให้หนอนหนังสือไม่สามารถ “เข้าถึง” หนังสือได้ต่างหาก
เมื่อไม่สามารถเข้าถึงหนังสือได้ ทำให้ต้องหันไปหาสื่ออื่นที่เข้าถึงมากกว่า ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่พบว่า คนไทยอ่านหนังสือลดลง จากร้อยละ 69.1 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 66.3 ในปี 2551 และจากจำนวนคนที่ไม่อ่านหนังสืออีกร้อยละ 33.7 นั้นใช้เวลาเพื่อดูโทรทัศน์ถึงร้อยละ 54.3 เพราะสื่อโทรทัศน์นั้น ถือเป็นว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงทุกคนได้มากกว่าหนังสือ ทำให้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาดูโทรทัศน์มากขึ้น ความรู้ ความคิด และจินตนาการจึงลดน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าได้
หากมีการส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ ก็จะช่วยเปิดโลกทัศน์ เกิดการปรับวิธีคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดการเรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้ระดับจิตใจและสติปัญญาถูกพัฒนาการอย่างเหมาะสม และเมื่อระดับความรู้ของพลเมืองเปลี่ยนไป ประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วย
การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กๆ นั้น ต้องอาศัยกำลังจากพ่อแม่เป็นสำคัญ เพียงพ่อแม่ใช้เวลาแค่วันละ 20 นาที ค้นหาหนังสือที่เหมาะกับวัยและความสนใจ บอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้น โดยการอ่านออกเสียงให้ลูกฟังตัวต่อตัว ก็จะทำให้เด็กกล้าที่จะตอบคำถาม รู้สึกผ่อนคลาย อุ่นใจและกล้าที่จะเปิดเผย เป็นการสอนอย่างไม่เป็นทางการที่สมบูรณ์แบบ ให้เด็กได้คุ้นเคยกับหนังสือ ถือเป็นการบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านได้อย่างแยบยล
และการที่จะเพิ่มจำนวนหนอนหนังสือ จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมเรื่องราคา ดังจะเห็นได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ถึง 6 เมษายน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะดึงดูดให้คนไทยหันมานิยมอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นได้ เพราะนอกจากจะมีหนังสือนานาชนิดให้ได้เลือกอ่านแล้ว ราคาหนังสือก็ยังถูกกว่าปกติทั่วไปอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การนำหนังสือมาไว้ที่เดียว ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอ่านหนังสือของคนไทยได้ แต่ด้วยกลยุทธ์ “หนังสือมือสอง” ในโครงการอ่านสร้างชาติที่เชิญชวนให้ทุกคนร่วมบริจาคหนังสือที่ไม่ใช้แล้วอาจช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เพียงแค่สละหนังสือคนละเล่ม แล้วส่งมาที่ มูลนิธิกระจกเงา 8/12 ซอยวิภาวดี44 ถนนวิภาวดี-รังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือทางเว็บไซต์ www.read4thai.org
เชื่อได้เลยว่า...หากคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการอ่านได้เยอะและง่ายขึ้นก็ช่วยสร้างให้ชาติไทยของเราเกิดการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างแน่นอน...^^
การอ่านหนังสือทำให้คนหลายๆคนเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในด้านความคิดและพฤติกรรม... “หนังสือ” จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือสำคัญในการสร้างพัฒนาการที่ดีที่สุด ที่ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในทางด้านสติปัญญา แต่ยังรวมไปถึงการช่วยพัฒนาความคิด และยกระดับจิตใจได้อีกด้วย
แต่ในปัจจุบันกลับพบว่า คนไทยอ่านหนังสือเพียง 5 เล่มต่อคนต่อปีเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามนำโด่งไปที่ 60 เล่มต่อคนต่อปี...ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วคนไทยรักการอ่านหนังสือไม่แพ้ชาติใดในโลก...นายจรัญ มาลัยกุล หัวหน้าโครงการอ่านสร้างชาติ ได้ออกมาบอกว่า จากข้อมูลที่ระบุว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยนั้น...ความจริงแล้วคนไทยไม่ใช่ไม่อยากอ่านหนังสือ แต่ไม่มีหนังสือให้อ่าน เพราะหนังสือมีราคาแพง และสถานที่จำหน่ายก็มีเฉพาะในเขตเมือง ทำให้หนอนหนังสือไม่สามารถ “เข้าถึง” หนังสือได้ต่างหาก
เมื่อไม่สามารถเข้าถึงหนังสือได้ ทำให้ต้องหันไปหาสื่ออื่นที่เข้าถึงมากกว่า ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่พบว่า คนไทยอ่านหนังสือลดลง จากร้อยละ 69.1 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 66.3 ในปี 2551 และจากจำนวนคนที่ไม่อ่านหนังสืออีกร้อยละ 33.7 นั้นใช้เวลาเพื่อดูโทรทัศน์ถึงร้อยละ 54.3 เพราะสื่อโทรทัศน์นั้น ถือเป็นว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงทุกคนได้มากกว่าหนังสือ ทำให้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาดูโทรทัศน์มากขึ้น ความรู้ ความคิด และจินตนาการจึงลดน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าได้
หากมีการส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ ก็จะช่วยเปิดโลกทัศน์ เกิดการปรับวิธีคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดการเรียนรู้อย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้ระดับจิตใจและสติปัญญาถูกพัฒนาการอย่างเหมาะสม และเมื่อระดับความรู้ของพลเมืองเปลี่ยนไป ประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วย
การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กๆ นั้น ต้องอาศัยกำลังจากพ่อแม่เป็นสำคัญ เพียงพ่อแม่ใช้เวลาแค่วันละ 20 นาที ค้นหาหนังสือที่เหมาะกับวัยและความสนใจ บอกเล่าเรื่องราวเหล่านั้น โดยการอ่านออกเสียงให้ลูกฟังตัวต่อตัว ก็จะทำให้เด็กกล้าที่จะตอบคำถาม รู้สึกผ่อนคลาย อุ่นใจและกล้าที่จะเปิดเผย เป็นการสอนอย่างไม่เป็นทางการที่สมบูรณ์แบบ ให้เด็กได้คุ้นเคยกับหนังสือ ถือเป็นการบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านได้อย่างแยบยล
และการที่จะเพิ่มจำนวนหนอนหนังสือ จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมเรื่องราคา ดังจะเห็นได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ถึง 6 เมษายน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะดึงดูดให้คนไทยหันมานิยมอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นได้ เพราะนอกจากจะมีหนังสือนานาชนิดให้ได้เลือกอ่านแล้ว ราคาหนังสือก็ยังถูกกว่าปกติทั่วไปอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การนำหนังสือมาไว้ที่เดียว ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอ่านหนังสือของคนไทยได้ แต่ด้วยกลยุทธ์ “หนังสือมือสอง” ในโครงการอ่านสร้างชาติที่เชิญชวนให้ทุกคนร่วมบริจาคหนังสือที่ไม่ใช้แล้วอาจช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เพียงแค่สละหนังสือคนละเล่ม แล้วส่งมาที่ มูลนิธิกระจกเงา 8/12 ซอยวิภาวดี44 ถนนวิภาวดี-รังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือทางเว็บไซต์ www.read4thai.org
เชื่อได้เลยว่า...หากคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการอ่านได้เยอะและง่ายขึ้นก็ช่วยสร้างให้ชาติไทยของเราเกิดการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างแน่นอน...^^
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)