วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โกจิเบอร์รี่


สุดยอดผลไม้ชะลอความแก่



เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทําไมดาวจรัสฟ้าแห่งวงการมายาฮอลลีวู้ดหลายๆ คนถึงไม่ยอม แก่ลงเลย ไม่ว่าจะเจอสักกี่ปีก็เหมือนหยุดอายุผิวให้คงอ่อนเยาว์ กระจ่างใสได้ตลอดเวลา เคล็ดลับของพวกเธออยู่ที่ผลไม้สีแดงลูกเล็กๆ อย่าง “ผลโกจิเบอร์รี่” ที่เรียกได้ว่าจิ๋วแต่แจ๋ว เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าของ “สารแอนติออกซิแดนท์”

“ผลโกจิเบอร์รี่” เป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ที่มีถิ่นฐานอยู่ในแถบเทือกเขาหิมาลัย จึงไม่ใช่เรื่อง แปลกหากคุณไม่เคยได้ยินชื่อของโกจิเบอร์รี่มาก่อน เพราะถึงแม้ว่าผลไม้ดังกล่าวจะเป็นยาโบราณที่สําคัญ ที่ใช้ในประเทศเอเชียมาหลายชั่วอายุคนก็ตาม แต่ความลับด้านประโยชน์ทางโภชนาการของผลดังกล่าวยังคงเป็นความลับที่ชาวโลกส่วนมากยังไม่ทราบ

ย้อนไป 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล นักสมุน-ไพรชาวหิมาลายันได้ค้นพบความลับที่มีค่ามากที่สุดคือผลโกจิเบอร์รี่ท้องถิ่น ซึ่งต่อมาได้รับการถ่ายทอดสู่นักปรุงยาชาวจีน ทิเบต และอินเดีย จากการค้นคว้าและวิจัยของ Dr. Earl Mindell ค้นพบว่าผลโกจิเบอร์รี่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสารแอนติออกซิแดนท์ในปริมาณมากถึง 25,300 (ในขณะที่ลูกพรุนซึ่งมีสารแอนติ-ออกซิแดนท์เป็นลําดับที่ 2 มีเพียง 5,700 ORAC เท่านั้น) โดยสารออกซิแดนท์ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อแก่ตัวลงเป็นสาเหตุสําคัญของความแก่ก่อนวัยอันควร

“ผลโกจิเบอร์รี่” แต่ละลูกประกอบด้วยกรดอะมิโน 19 ชนิด ธาตุอาหาร 21 ชนิด มีโปรตีนมากกว่าโฮลวีท มีสารแอนติออกซิแดนท์คาโรทินอยด์อีกจํานวนมาก รวมทั้งวิตามินซีที่มีระดับสูงกว่าผลส้ม ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของโกจิเบอร์รี่ ซึ่งเอนไซด์ของผู้หญิงไทยที่พบว่าผิวอ่อนเยาว์กว่าอายุจริงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนปรารถนาติดอันดับต้นๆ และร้อยละ 85 ของผู้หญิงเชื่อว่าปัญหาผิวสามารถชะลอและ ป้องกันได้

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

L'histoire de la pomme.

Le pommier est l’arbre fruitier le plus cultivé dans le monde. Paradoxalement, son fruit chargé de symbolique dès l’origine, est le fruit défendu.......

D’innombrables variétés nous offrent généreusement des pommes toute l’année. La pomme est connue depuis la nuit des temps et elle a beaucoup fait parler d’elle.

Nos pommes actuelles sont issues de pommiers sauvages originaires d’Asie Mineure dans le Caucase. On a même observé le pommier dans l’Himalaya jusqu’à 3000 mètres d’altitude.

Peu à peu et plus récemment encore, les pommiers ont subi de nombreuses sélections et hybridations. Les croisements ont donné les différentes formes de pommes que nous connaissons.

De nos jours il existe prés de 6000 variétés de pommes parfaitement identifiées.

Le Pommier, son nom scientifique en latin : Malus

La Pomme, le fruit malum, désigne aussi le coing, la grenade, la pêche, l’orange, le citron.

Effectivement, nos anciens parlaient de pomme d’orange (loi poumo d’oranzé, lo poumo dé poumiè....) Le pommier, arbre fort ancien, s’adapte parfaitement au Limousin, une de ses régions préférées. En effet, climat et sol font que ses fruits sont des plus savoureux et excellents dans notre région (pommes de table ou pommes à cidre).

C’est vers la fin du tertiaire, début du quaternaire, il y a environ 1,6 millions d’années, qu’apparut le pommier sauvage. Des empreintes de feuilles de pommier sauvage ont été découvertes dans des roches quaternaires, non loin de Marseille.

Il y a un million d’années environ, les premiers hominidiens, primates appartenant à la même famille que l’homme, collectaient les végétaux sauvages.

Le pommier sauvage poussant dans les haies ou les broussailles donne des fruits plus petits et plus colorés que ceux des variétés cultivées. Sa présence assure une bonne pollinisation des

Des restes de pommes coupées ont été découverts dans des habitats préhistoriques, dits sur pilotis, les palafittes du néolithique et de l’âge de bronze, environ 4500 à 700 ans avant J.C.

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

10 อันดับ สนามบินที่สวยที่สุดในโลก

“สวยแต่รูป จูบไม่หอม” คงจะใช้เปรียบเปรยกับเจ้าลานจอดนกยักษ์ที่เราจะเอามานำเสนอไม่ได้แน่ๆ “สุวรรณภูมิ” บ้านเราก็ว่าใหญ่แล้ว ยังต้องชิดซ้ายหลบแทบไม่ทัน เพราะของเพื่อนบ้านเค้าคุยว่า “หน้าตายิ่งไฮโซเท่าไหร่ นวัตกรรมก็ยิ่งทันสมัยขึ้นเท่านั้น”


เริ่มกันเบาๆ ที่ อันดับ 10. Terminal 4, Barajas Airport, Madrid



อันดับ 9. TWA Terminal, John F. Kennedy Airport, New York City




อันดับ 8. Carrasco International Airport, Montevideo, Uruguay





อันดับ 7. Sondika Airport, Bilbao, Spain





อันดับ 6. Denver International Airport






อันดับ 5. Incheon International Airport, South Korea






อันดับ 4. Marrakech Menara Airport, Morocco






อันดับ 3. Chek Lap Kok Airport, Hong Kong






อันดับ 2. Kansai International Airport, Osaka, Japan






อันดับ 1. Terminal 3, Beijing International Airport





ตามแกะรอยเจ้าของ “งูกรีนแมมบ้า”

พบเบาะแสเจ้าของงูกรีนแมมบ้าแล้ว องค์การสวนสัตว์เตรียมเชิญตัวให้ข้อมูล พบในเฟซบุ๊ก เป็นบุคคลคลั่งงูและอาสาสมัครจับสัตว์เลื้อยคลาน

หลังจากมีกระแสกระแสข่าวประชาชนตื่นกลัวภัยจากงูพิษกรีนแมมบ้าจากแอฟริกาหลุดออกมาในย่านปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวน 15 ตัว โดยมีที่มาจากการที่มีเจ้าของงูรายหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความในเครือข่ายออนไลน์กับคนขายงูว่า งูของเขาหลุด

จากนั้นมีคนขายงูเข้ามาโพสต์ต่อกับคนมีความรู้ในเรื่องการจับงู ใช้ชื่อในเฟซบุ๊คว่า snakehunter snakelove ได้เข้ามาโพสต์ต่อในเฟซบุ๊กของกองทุนช่วยชีวิตสัตว์ป่าจากภัยพิบัติ 1362 ระบุว่า “มีเรื่องสำคัญที่สุดมารายงานครับเซียนงูหลายท่านจากวงการ Siamreptile แจ้งกันมาถึงผมว่ามีเหตุการณ์ Green mamba (Dendroaspis angusticeps) หลุดจากสถานเลี้ยงทั้งสิ้น 15 ตัว บริเวณข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (ห้าแยกปากเกร็ด) ลงไปหมู่บ้านทางด้านซ้ายมือ” ดังที่ปรากฎเป็นข่าวไปแล้วนั้น

กระทั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข เตรียมนำเข้าเซรุ่มรักษาพิษงูชนิดนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดกรณีมีผู้ถูกกัด อย่างไรก็ดี มีกระแสข่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้มีการตรวจสอบผู้ที่ใช้ชื่อ snakehunter snakelove ที่ได้เข้ามาโพสต์ข้อความ พบว่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นอกจากนี้ ยังพบว่า ภาพที่ได้โพสต์ในเฟซบุ๊คของตัวเองนั้น ส่วนใหญ่เป็นภาพของสัตว์เลื้อยคลาน และภารกิจการจับงูชนิดต่างๆ โดยมีภาพของงูสีเขียว ที่อาจเป็นงูพิษกรีนแมมบ้ารวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ทางองค์การสวนสัตว์เตรียมประสานนักศึกษาคนดังกล่าวเข้าให้ข้อมูลต่อไป.

"ลิลลี่แพดซิตี้"

เมืองลอยน้ำแห่งโลกอนาคต

เมื่อถึงวันที่ธรรมชาติเอาคืน มนุษย์ก็พร้อมตื่นตัวรับมือกับชะตากรรมที่อาจต้องเจอ หุหุ จะรับทันมั้ย นับวันภัยพิบัติยิ่งถาโถม เรารู้ทันบ้าง คาดเดาไม่ได้บ้าง ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การสร้างเขื่อนกั้นนั้นก็ต้องทำให้แข็งแรงแน่นหนาขึ้น แต่ "วินเซนต์ คัลลีบัต"สถาปนิกสมองใสชาวเบลเยียมกล่าวว่า เราจำเป็นต้องสร้างโครงการที่แก้ปัญหาได้ระยะยาวมากกว่านั้น

"เมืองลอยน้ำ"หรือ"ลิลลี่แพดซิตี้" โครงการแห่งโลกอนาคตจึงผุดขึ้น แนวคิดของรูปทรงมาจาก "บัววิกตอเรีย" อืมมม มองภาพแล้วก็เหมือนบัวลอยน้ำจริงๆ วัตถุประสงค์หลักก็แน่นอน "หนีน้ำท่วม" โดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆ ของโลกที่อยู่ในพื้นที่เสียงต่อระดับน้ำทะเลมากที่สุดคือ นิวยอร์ก โตเกียว และลอนดอน โอ้ว ประเทศสุดฮอตยอดนิยมแห่งการไปเยือนทั้งนั้น





ความพิเศษของเจ้า "บัวยักษ์" อยู่ที่การจุประชากรได้ถึง 50,000 คน ผลิตพลังงานใช้ได้เอง มีทะเลสาบอยู่ตรงกลางเพื่อเก็บน้ำฝนสะอาด มีภาพเทือกเขาปลอมๆ ไว้ให้ประชาชนดูแก้เบื่อตาจากวิวทะเล ไทเท เนียมไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการสร้างเมืองยังดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศด้วย สำหรับพลังงานที่แต่ละเมืองนำมาใช้นั้น เป็นพลังงานสีเขียวที่นำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานจากคลื่น พลังงานลม พลังงานเธอร์มัล พลังงานไฮดรอลิก การสร้างพลังงานนั้นมีจำนวนมากกว่าพลังงานที่แต่ละเมืองใช้ พลังงานจึงเหลือเฟือ และยังเป็นเมืองที่ไม่แพร่ก๊าซเรือนกระจก ส่วนขยะจะถูกนำมารีไซเคิล และที่สำคัญ "ไม่มีถนน ไม่มีรถยนต์" ประมาณว่าติดป้าย "มลพิษห้ามเข้า"กันเลยทีเดียว